วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
          3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
คำแนะนำในการใช้ Google
1.             ใช้ Google ใช้ and ในประโยคเสมอ
2.             ใช้ or คือให้ข้อมูลมากขึ้นจาก  A และ B
3.             ใช้ Google จะละคำทั่วไป เช่น the , to ,of  และอักษรเดี่ยว
4.             กันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงได้ด้วยการใช้ Advanced Search
5.             Google สามารถแปลภาษาได้หลายภาษา

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
       ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Mail หรือที่เราเรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า E-mail  ซึ่งเป็นการ
รับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะ
อยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์มาให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที โดยที่เราสามารถรับและ
ตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที  มาให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็วและรู้สึกเพลิดเพลินกับการ
ติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วทุกมุมโลก จะสั้นหรือยาว การรับส่งอีเมล์ในระบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างถูกต้อง
ได้นั้นจะต้องอาศัยที่อยู่ของทั้งผู้ส่งและผู้รับที่เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-Mail Address)” เป็นตัวอ้างอิง 
อีเมล์แอดเดรสนี้เป็นชื่อเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน ภายในชื่อนี้จะระบุว่าเป็นอีเมล์ของผู้ใช้รายใด  ส่งมาจาก
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งใด เช่น webmaster@moe.go.th  หมายถึงผู้ใช้ที่มีรหัสว่า webmaster จาก
ระบบเครือข่าย moe.go.th จากชื่อของอีเมล์นี้ก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นจดหมายของ   ผู้ใด ส่งมาจากที่ใด
หรือประเทศใด เหมือนกับการส่งจดหมายทั่ว ๆ ไป

 กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์
        เป็นการติดต่อสื่อสาร  ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ที่คล้ายกับการเขียนข้อความ  ไว้บนกระดาน เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้  แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์  ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละราย  ปัจจุบันนี้ เว็บไซต์บางแห่งจัดตั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ  แยกเป็นแต่ละกระดานสำหรับ  แต่ละเรื่อง  เช่น  กรณีเว็บไซต์  www.pantip.com  เป็นต้น  นอกจากนั้น  เว็บไซต์บางแห่งอนุญาตให้มีการจัดตั้ง ชุมชนสำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน  ใช้สื่อสารกันด้วยจดหมาย เอกสาร รูปภาพ ฯลฯ นักศึกษาสามารถเข้าไปดูตัวอย่างกิจกรรมประเภทนี้ได้ที่ http://groups.msn.com/
ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้
         นับตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในศตวรรษที่  18  อารยธรรมของมนุษย์  มีการบันทึกเพื่อถ่ายทอดแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบ การแต่งหนังสือและการพิมพ์เผยแพร่  เป็นจำนวนครั้งละมากๆ ทำให้การเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว   ยิ่งกว่านั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่สามารถอนุรักษ์ความรู้ไว้ได้เป็นเวลายาวนาน  มากกว่าความยืนยาวของชีวิตมนุษย์หลายสิบเท่า  ห้องสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาหนังสือ  จึงมีการจัดการที่เป็นระบบ  ทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย  จึงเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
           วิธีการที่ใช้กันในห้องสมุดต่างๆ  ทั่วโลกนั้น  เรียกว่าการจัดทำบัตรรายการ  และการกำหนดหมู่   เลขรหัส   สำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้น
          การกำหนดหมู่เลขรหัส  ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย  มีสองระบบ  ระบบแรก  เรียกว่า   ระบบดิวอี้  (Dewy Decimal System)  นิยมใช้กันตามสถาบันการศึกษา  ส่วนระบบที่สองเป็นระบบใหม่กว่า  เรียกว่า ระบบแอลซี  (Library of congress System)  เป็นระบบที่คิดขึ้นมาใช้สำหรับห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐ  ซึ่งเป็นห้องสมุดที่มีจำนวนหนังสือ  และเอกสารมากที่สุดในโลก  เหตุที่ต้องคิดหาระบบใหม่ขึ้นมาใช้นั้น ว่ากันว่าเพราะระบบดิวอี้ ดั้งเดิมมีความละเอียดไม่พอ   ไม่สามารถแยกประเภทของหนังสือบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดีพอ  อย่างไรก็ตาม   ระบบดิวอี้   ได้มีการพัฒนาขึ้นในเวลาต่อมา   จนในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมไม่แพ้ระบบแอลซี
       บัตรรายการสำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้นนั้น  จะระบุหมู่เลขรหัส   ชื่อหัวเรื่อง  (ชื่อหนังสือหรือเอกสาร)  ชื่อผู้แต่ง   ชื่อสำนักพิมพ์  ปี ค.ศ.  หรือ  พ.ศ.  ที่พิมพ์   และชื่อเมืองที่พิมพ์  และมักจะมีสาระสังเขปเป็นคำอธิบายสั้นๆ  เกี่ยวกับเนื้อหาที่บรรจุด้วย  นอกจากนี้จะมีข้อความหรือรหัสที่ระบุว่าหนังสือหรือเอกสารนั้นๆ  ถูกจัดเก็บอยู่ที่บริเวณใดในห้องสมุดนั้นบัตรรายการต่างๆ  จะถูกนำมาเรียงลำดับอักษร  ตามชื่อหัวเรื่องชุดหนึ่ง  แยกไว้ในตู้บัตรรายการ       คนละตู้กัน   ส่วนหนังสือและเอกสารต่างๆ   จะถูกจัดเก็บบนชั้นหนังสือ  โดยเรียงลำดับตามหมู่เลขรหัส